EMBED src="http://i245.photobucket.com/albums/gg78/looma001/aloomaclock2.swf " WIDTH="120" HEIGHT="120" wmode="transparent" quality="high" loop="true" bgcolor="#FFFFFF" TYPE="application/x-shockwave-flash" PLUGINSPAGE="http://get.adobe.com/flashplayer/">
นาฬิกาน่ารัก

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

สถานที่ท่องเที่ยวใน นครนายก

 ที่เที่ยวในนครนายกมีที่ไหนบ้างน้าาาาาา...อยากรู้ไปดูกัยโลยยย 

1.เขื่อนขุนด่านปราการชล 

Image result for เขื่อนขุนด่านปราการชล


ชมวิวสวย ๆ เมืองนายก บนสันเขื่อนสูงพร้อมกับล่องแก่งสุดมัน ที่เขื่อนขุนด่านปราการชล (เขื่อนที่ยาวที่สุดของเมืองไทย) เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นเขื่อนคอนกรีตอัดบดยาวที่สุดในประเทศไทยและยาวที่สุดในโลก เขื่อนขุนด่านแห่งนี้เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย ชมวิวสวย ๆ ของเมืองนครนายกบนสันเขื่อนที่สูงถึง 90 เมตร  พร้อมสัมผัสกับอากาศดี ๆ ที่เย็นสบาย  และเป็นเส้นทางล่องแก่งลำน้ำนครนายกที่สนุกตื้นเต้นเร้าใจ พร้อมกันนั้นเรายังได้ชื่นชมกับความปรีชาสามารถขององค์พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว พ่อหลวงของพวกเราชาวไทยทุกคน
จากจุดประสงค์ที่ต้องการพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบชลประทานขนาดใหญ่ที่สามารถเก็บกักน้ำและจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบให้พอเพียงกับความต้องการของกิจกรรมทุกประเภทภายในลุ่มน้ำนครนายกและพื้นที่ใกล้เคียง ดังนั้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างเขื่อนคลองท่าด่านฯ และได้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 โดยใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี
เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดที่ยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อเขื่อนว่า เขื่อนขุนด่านปราการชล เพื่อเชิดชูวีรกรรมของขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน หรือ ขุนด่าน วีรชนของนครนายกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวเขื่อนมีความยาวรวม 2,720 เมตรความสูง 93 เมตร ความจุน้ำ 224 ล้านลูกบาศก์เมตร รับน้ำที่ไหลมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ผ่านน้ำตกเหวนรกลงสู่อ่างเก็บน้ำ สามารถป้องกันน้ำท่วมและลดความเสียหายจากน้ำล้นตลิ่ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนครนายก โดยสามารถชมทิวทัศน์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้จากบริเวณสันเขื่อน และชมทิวทัศน์เมืองนครนายกด้านหลังเขื่อน

2.อุทยานวังตะไคร้



Image result for อุทยานวังตะไคร้


อุทยานวังตะไคร้ อยู่ในอำเภอเมือง เป็นสถานที่พักผ่อน อยู่ในความดูแลของมูลนิธิจุมภฏ - พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ภายในตกแต่งด้วยดอกไม้นานาพันธุ์ และไม้ประดับต่างๆ ภายในเนื้อที่ 1,400 ไร่ มีธารน้ำที่ไหลมาจากซอกซอน ผ่านโขดหินน้อยใหญ่ เหมาะในการเล่นน้ำ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของลำธาร 2 ลำธารลำธารหนึ่งชื่อคลองมะเดื่อจากน้ำตกเหวกระถินกับอีกลำธารหนึ่งชื่อคลองตะเคียน จากน้ำตกแม่ปล้อง ลำธารทั้ง 2 นี้ ไหลมาบรรจบกันเป็นธารเดียว มีแอ่งน้ำขัง เป็นวังน้ำอยู่เป็นตอน ๆ ไหลลงสู่แม่น้ำนครนายกและมีต้นตะไคร้ น้ำตะไคร้หางนาค นับเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ชอบขึ้นอยู่ตามห้วยลำธารทั่วไป เป็นต้นไม้ที่เหนียวมากมีก้านสีดำและมีดอกสีชมพูน่ารักมาก ภายในอุทยานแห่งนี้จะออกดอกสะพรั่งตัดกับท้องฟ้าสีน้ำเงิน ทำให้เกิดทัศนียภาพงดงามทุกฤดูกาลโดยเฉพาะในฤดูฝน และเนื่องจากวังตะไคร้นี้เป็นด้านที่รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม จึงทำให้มีฝนตกชุกหุบเขาบริเวณนี้จึงมีพรรณไม้ใหญ่น้อยมากมาย ลำธารน้ำจะมีน้ำเต็มฝั่งไหลเชี่ยวจัด จึงเป็นที่เล่นกีฬาล่องแก่งด้วยแพยาง หรือชูชีพกันอย่างสนุกสนาน 


  3.พิพิธภัณฑ์ พระพิฆเนศ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑ์ พระพิฆเนศ ตำบล สาริกา





หากพูดถึงเทพเจ้าแห่งความสำเร็จที่ใครหลายคนเคารพนับถือกันแล้ว ก็ต้องนึกถึงองค์พระพิฆเนศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในทริปนี้เอง ดูเอเซียจะพาเพื่อนๆมาสักการะองค์พระพิฆเนศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งก็ไม่ไกลจากกรุงเทพเลยครับ เพราะอุทยานพระพิฆเนศแห่งนี้ อยู่ที่จังหวัดนครนายก นี้เอง
อุทยานพระพิฆเนศ ที่จังหวัดนครนายก  ไม่เพียงแต่จะมีพระพิฆเนศองค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังยังมีพิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ 108 ปาง ให้ชมและสักการบูชา นอกจากนั้นยังมีพระบรมสารีริกธาตุจาก 9ประเทศ ให้เราได้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคลอีกด้วย


  4.วัดเขาชะโงก

Image result for วัดเขาชะโงก


แต่เดิมชื่อว่า "วัดเขาชะโงก" เป็นภาพเขียนสี ติดอยู่กับชะโงกผาบนภูเขาเตี้ย ๆ ถัดจากเขาชะโงก ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ พรหมณี พระพุทธฉายนี้ประวัติเดิมเป็นอย่างไรไม่ปรากฏแต่เล่ากันว่าสภาพเดิม เป็นภาพพระพุทธรูปปรางต่าง ๆ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2485 กรมแผนที่ทหารบก ได้เข้าไปตั้งโรงงาน หินอ่อนที่เชิงเขานี้ และได้เขียนตามรอยพระพุทธรูป เดิมให้ชัดเจนขึ้นราษฎรบริเวณนั้นถือว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดนครนายก ทุกกลางเดือน 3 จะมีงาน นมัสการเป็นประจำทุกปี การเดินทาง สามารถนำรถยนต์เข้าไปถึงเชิงเขาได้



5.น้ำตกกระอาง


Image result for น้ำตกกะอาง

ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีกะอาง จากตัวเมืองไปตามถนนสุวรรณศรถึงอำเภอบ้านนา เยื้องกับสถานีตำรวจ ภูธรอำเภอบ้านนา มีถนนแยกไปน้ำตกกะอางระยะทาง 11 กิโลเมตร ลักษณะเป็นลานหินกว้าง มีน้ำตกไหลผ่านตามช่องหิน นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงมีพระพุทธรูปปางสมาธิก่อด้วยอิฐประดิษฐานอยู่บนเนินเขา และมีสถานี เพาะชำกล้าไม้ ของกรมป่าไม้ตั้งอยู่ด้วย



6.น้ำตกลานรัก

Image result for น้ําตกลานรัก

หรือน้ำตกตาดหินกอง ตั้งอยู่ในตำบลพรหมณี ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปน้ำตกสาริกา และ น้ำตกนางรอง โดยแยกซ้ายที่ สี่แยกประชาเกษม ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 8 และเดินทางต่อด้วยถนนลูกรังอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณตัว น้ำตก ซึ่งเกิดจากสายธารเล็ก ๆ ไหลผ่านลานหิน ในช่วงสุดท้ายไหลพุ่งเป็นทางยาว ผ่านลานหินที่กว้างเลียบตรงเชิงเขาเตี้ย ๆ อย่างสวยงาม และแปลกไปจากน้ำตกแห่งอื่น ๆ มีน้ำเฉพาะใน


7.พระพุทธบาท 4 รอย




ประดิษฐาน ณ มณฑปวัดทองย้อย เป็นโบราณสถานอันเก่าแก่ มีคุณค่าทางศิลปะซึ่งแสดงถึงความ ประณีตงดงามในการ ประดิษฐ์ การหล่อ ของฝีมือช่างไทยสมัยโบราณ โดยทางวัดจะจัดให้มีงาน นมัสการทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

8.น้ำตกสาริกา



ตั้งอยู่ที่ตำบลสาริกา ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ น้ำตกสาริกาเป็นน้ำตกที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สายน้ำไหลตกจากหน้าผาเป็นทอด ๆ สูงถึง 9 ชั้น ผาที่สูงที่สุดสูงประมาณ 200 เมตร แต่ละชั้นมีอ่างรับน้ำ มีน้ำมากในฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งน้ำจะแห้ง บริเวณด้านล่างของน้ำตก มีบริการร้านอาหาร และร้าน จำหน่ายของที่ระลึก สินค้าพื้นเมือง เช่น ไม้กวาด ดอกไม้ที่ทำจากไม้โสนป่า ฯลฯ การเดินทาง ไปน้ำตกสาริกาสะดวกมาก โดยทางหลวงหมายเลข 3049 เป็นระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวง 3050 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร และมีรถโดยสารประจำทางสายนครนายก-น้ำตกสาริกา วิ่งวันละหลายเที่ยว ในบริเวณ ใกล้เคียงกันมี "ถ้ำสาริกา" ซึ่งเป็น สถานที่ที่อาจารย์มั่น ภูริฑตฺโต เคยมาบำเพ็ญศาสนธรรม ระหว่าง พ.ศ. 2460-2463 สภาพบริเวณเป็นเนินเขาภายใน บริเวณประกอบด้วยกุฏิของสงฆ์ และชี เรือนบูชาหลวงปู่มั่นพร้อมด้วยโบสถ์ซึ่งอยู่ตอนสุดทางเดินเท้าขึ้น


9.น้ำตกวังม่วง



ตั้งอยู่ที่ตำบลนาหินลาด มีทางแยกซ้ายมือจากถนนสุวรรณศรที่อำเภอปากพลี ไปยังน้ำตกวังม่วง ระยะทาง 16 กิโลเมตร การเดินทาง สะดวกไปจนถึงบริเวณน้ำตก เป็นน้ำตกที่ไหลผ่าน แนวหิน เป็นระยะ ๆ แล้วไหลลงมายังอ่างรับน้ำสุดท้าย มีความสวยงามของธรรมชาติ


10.ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน




ตั้งอยู่บนชะง่อนหิน ตำบลพรหมณี เลยทางเข้าโรงเรียนนายร้อย จปร. มาเล็กน้อยทางด้านขวามือ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนเคารพนับถือมาก ตามประวัติท่านเป็นนายด่านเมืองนครนายก สมัยกรุงศรีอยุธยา วีรกรรมของท่าน คือ การต่อต้านเขมรที่แปรพักตร์ เมื่อปี พ.ศ.2130 ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขณะที่ไทยติดพันศึกกับพม่า เขมรได้เข้ามารุกราน และ กวาดต้อนผู้คนแถบปราจีนบุรีเพื่อนำกลับไปเขมร โดยได้ยึดเมืองปราจีนบุรี และเมืองนครนายก ขุนด่านได้รวบรวมผู้คนชาวเมืองนครนายกถอยไปตั้งหลักที่เขาชะโงก แล้วยกกำลังเข้าขับไล่เขมร ออกจากนครนายกจน เขมรแตกพ่ายไป ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อขุนด่านยังมีเรื่องเล่าอีกว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นนำกำลังพลไปตั้ง ที่เขาชะโงก และได้รื้อศาลเจ้าพ่อขุนด่าน เจ้าพ่อขุนด่านได้แสดงอภินิหารทำให้ทหารญี่ปุ่นล้มตายเป็นจำนวนมาก แหล่งโบราณคดีบ้านดงละคร หรือเมืองดงละคร ตั้งอยู่ที่ตำบลดงละคร ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 9 กิโลเมตรแต่เดิมเรียก กันว่า "เมืองลับแล" เป็นสถานที่ตั้งเมืองโบราณ สมัยขอมมีอำนาจแนวกำแพงเป็นเนินดิน และคูเมืองปรากฏอยู่ ชาวบ้านเรียก กันว่า "สันคูเมือง" ลักษณะของเมืองเป็นกำแพงสูง ประมาณ 3 เมตร กว้าง 350 เมตร ยาว 550 เมตร และมีคูเมืองล้อม รอบ 4 ด้าน ภายในบริเวณมีการ ขุดค้นพบภาชนะดินเผา ลูกปัด พระพิมพ์ และซากสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเป็นหลัก ฐานแสดง ความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14-16 สำหรับตำนานเมืองลับแลนั้นเล่ากันว่า เมืองนี้เคย เป็นเมืองของราชินีขอม ซึ่งเป็นรโหฐานที่ผู้อื่นไม่สามารถเข้าออกได้ง่ายนัก ประกอบกั ลักษณะของบริเวณเมืองมีต้นไม้สูง ๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป ใครเข้าไปแล้วอาจหลงทางหาทางออกไม่ได้ จะต้องวนเวียนอยู่ในดงนั้นเอง และในวันโกน วันพระ วันดีคืนดี จะได้ยินเสียงกระจับปี่ สีซอ ปี่พาทย์ มโหรีขับกล่อมคล้าย ๆ กับมีการเล่นละครในวัง ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดงละคร" ซึ่งเพี้ยนมาจาก "ดงนคร"และกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น